top of page
Info-EXA

แผนพลังงานแห่งชาติใหม่ เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเป็น 50%


สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กำลังจัดทำร่างแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ฉบับใหม่ และเตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็นไตรมาส 3 ปี 2567 เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณา [1] ก่อนเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ภายในเดือนกันยายน เพื่อการอนุมัติต่อไป [2]


 แผนพลังงานชาติ ประกอบไปด้วย 5 แผน ดังนี้ 1.แผนพัฒนากำลังผลิตพลังไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) 2.แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) 3.แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) 4.แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และ 5.แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) [1]


แผน PDP ฉบับใหม่ จะพิจารณาถึง 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.ความมั่นคงของระบบ 2.ราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้ และ 3.สิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้จึงได้ปรับโครงสร้างการผลิตไฟฟ้าให้มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนอยู่ประมาณ 50% ของกำลังการผลิตไฟทั้งหมดภายในปี 2580 [2] ก๊าซธรรมชาติ 30-40% เป็นต้น ที่สำคัญจะพยายามรักษาอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยตลอดแผน 20 ปี ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบันหรือ 4 บาทต่อหน่วย [1]


การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานโซลาร์จะมีสัดส่วนเยอะที่สุด ตามด้วยพลังงานลม พลังงานน้ำและพลังงานชีวมวล รวมถึงจะบรรจุเรื่องการใช้เทคโนโลยี อย่างการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage) นอกจากนี้ แผน PDP ฉบับล่าสุดยังเพิ่มพลังงานทางเลือกใหม่อีก 5% อาทิ พลังงานไฮโดรเจนที่กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความคุ้มค่า หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ที่หายไปจากแผน PDP 2018 ก็กลับมาอีกครั้งในรูปแบบ Small Modular Reactor (SMR) ซึ่งตั้งกำลังผลิตไว้ประมาณ 70 เมกะวัตต์ พร้อมบรรจุเป้าหมายของโรงไฟฟ้าชุมชนไว้ในแผนฉบับใหม่นี้ด้วย [2]

 

อ้างอิง: 

Commentaires


bottom of page