รัฐบาลได้ประกาศเมืองอัจฉริยะแล้วทั้งหมด 36 เมือง ใน 25 จังหวัด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 ซึ่งคาดว่าจะดึงดูดการลงทุนได้มากกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และคาดว่าจะส่งเสริมได้มากกว่า 15 เมืองในปีนี้
“เมืองอัจฉริยะ” คือเมืองที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยภายใต้แนวคิดเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัย ให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข อย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาเมืองใน 7 มิติ ได้แก่ (1) สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (2) พลังงานอัจฉริยะ (3) การเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ (4) เศรษฐกิจอัจฉริยะ (5) การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (6) พลเมืองอัจฉริยะ และ (7) การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ
โดยตามที่รัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ได้ตั้งเป้าที่จะพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำนวน 15 เมืองในทุกปี ซึ่งได้ประกาศไปแล้วทั้งหมด 30 เมือง ในปี 2564-2565 จากนั้นได้ประกาศเพิ่มอีก 6 เมืองในปี 2566 ส่งผลให้ประเทศไทยมี 36 เมืองที่ได้รับการรับรองเป็นเมืองอัจฉริยะใน 25 จังหวัด
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ดำเนินนโยบายด้าน Smart City อย่างต่อเนื่อง ตามหลักการพัฒนา 5 เสาหลัก ได้แก่
พัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ มีเป้าหมายในการเลือกเมืองที่มีศักยภาพ สำหรับการดำเนินงานนำร่อง
ปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
สร้างกลไกบริหารจัดการในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปสู่ภาคปฏิบัติ
ผลักดันเมืองอัจฉริยะด้วยการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม
ส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมโยงและการใช้งานข้อมูล
Comentarios