top of page
Kanokwan

กรมโรงงานอุตสาหกรรมติดตามการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรมทั่วประเทศ



ประเทศไทยพบปัญหาการลักลอบทิ้ง และสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งทำให้เกิดความกังวลในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง กรมโรงงานอุตสาหกรรมฯ ได้ดำเนินการติดตามและพยายามที่จะดำเนินการมาตรการต่างๆ และจัดการประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

 

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 ผู้บริหารจากกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเคมีรั่วไหล


ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงปัญหาสารเคมีรั่วไหลจากโรงงานอุตสาหกรรมอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และขาดมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมสถานการณ์ จึงได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และกำหนดมาตรการป้องกันอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งดำเนินคดีกับผู้ประกอบการโรงงานหรือผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาดและเคร่งครัด คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอดังกล่าว เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 [1]


ในการประชุมครั้งนี้ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ การตรวจสอบ ติดตามข้อเท็จจริง ตลอดจนแนวทางและแผนการจัดการแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะดังกล่าวอีกให้ชัดเจน ครอบคลุมขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการ การทำลาย และการเคลื่อนย้ายกากอุตสาหกรรมและสารเคมีตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้ทางอก. และกรอ.จะมีการจัดการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าในทุกสัปดาห์ [2]

 



และเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2567 รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลักลอบทิ้งยิปซัมในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี [3]


โดยเมื่อปี 2566 ได้มีเหตุร้องเรียนเกี่ยวกับการเก็บแคลเซียมซัลเฟต (ยิปซัมสังเคราะห์) ที่เกิดจากโรงงานผลิตกรดกรดซิตริกในพื้นที่ชุมชน อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตเป็นสารปรับปรุงดิน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมโรงงานพบว่านี่เป็นวิธีการจัดการกากยิปซัมอย่างไม่ถูกต้อง กรอ. จึงได้มีคำสั่งให้ทางโรงงานขนย้ายกากยิปซัมสังเคราะห์กลับเข้ามาในบริเวณโรงงาน เพื่อนำไปกำจัดให้ถูกต้องต่อไป[4]


ทางโรงงานได้ดำเนินการตามคำสั่งของกรอ. เรียบร้อยแล้ว โดยได้นำกากยิปซัมสังเคราะห์ไปฝังกลบในพื้นที่ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ อย่างไรก็ตามชาวบ้านในพื้นที่ยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังนั้นทางกรอ.จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างดินและน้ำ เพื่อทดสอบการปนเปื้อนฯ ซึ่งผลปรากฏว่าไม่พบค่าของสารเคมีอันตราย

 

Source:

Comentarios


bottom of page